ต้น ธรณีสาร

หัวข้อ

ต้น ธรณีสาร

ต้น ธรณีสาร จัดเป็นไม้พุ่งกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านบริเวณใกล้กับปลายยอด เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ลำต้นมีลักษณะกลมและมีรอยแผลใบตามลำต้น มีขนนุ่มตามกิ่งอ่อนและใบประดับ ส่วนอื่น ๆ ต้นธรณีสาร ความเชื่อ ของต้นเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด พบขึ้นกระจายอยู่ตามป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 400 เมตร

 

ลักษณะของว่าน ต้น ธรณีสาร

 

ใบว่านธรณีสาร ใบเป็นใบเดี่ยว ต้น ธรณีสาร  ออกเรียงสลับแน่นในระนาบเดียวกันบริเวณปลายยอด มีใบย่อยประมาณ 15-30 คู่ ในแต่ละกิ่งย่อย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานเบี้ยว หรือเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ปลายสุดมีติ่งแหลมขนาดเล็ก ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 0.8-1.3 เซนติเมตร ต้นธรณีสารพุทธคุณ และยาวประมาณ 1.52.5 เซนติเมตร แผ่นใบแผ่และบาง แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน หลังใบสีเขียว ส่วนท้องใบเป็นสีเทาแกมเขียว มีเส้นใบข้างประมาณ 6-8 คู่ ก้านใบสั้น ยาวได้ประมาณ 0.8-1.5 มิลลิเมตร ก้านมีสีแดงเล็กน้อย ส่วนหูใบมีสีน้ำตาลแดง ลักษณะเป็นรูปหอกแกมรูปสามเหลี่ยม มีขนาดประมาณ 3-4 x 1.5-2 มิลลิเมตร

 

ดอกว่านธรณีสาร ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีแดงเข้ม และเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ใบประดับมีขนนุ่มที่ฐาน โดยดอกเพศผู้จะออกดอกเป็นกระจุกตามซอกใบ มีกลีบดอก 4 กลีบ โคนสีแดง ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน ก้านชูสั้น เชื่อมติดกัน อับเรณูแตกตามยาว ก้านดอกบาง ยาวได้ประมาณ 5-10 มิลลิเมตร และกลีบเลี้ยงดอกมี 4 กลีบ กลีบเลี้ยงมีสีแดงเข้ม ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ขอบแหว่ง มีขนาดประมาณ 2-3 x 1-2 มิลลิเมตร มีต่อม ขานฐานดอกเป็นต่อม 4 อัน เป็นรูปเหลี่ยมหรือรูปไตแบนบาง มีขนาดกว้างประมาณ 0.5-0.7 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะออกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกจะห้อยลง เรียงกันอยู่หนาแน่นตามใต้ท้องใบ กลีบดอกเพศเมียมี 6 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ขอบแหว่ง มีขนาดประมาณ 3.5-4 x 1.5 มิลลิเมตร มีรังไข่เป็นรูปกึ่งกลม เกลี้ยง ส่วนปลายมีพู 6 พู ภายในรังไข่มีห้อง 3 ห้อง และมีก้านชู 3 อัน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน

 

ผลว่านธรณีสาร ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร ผิวผลเกลี้ยง เป็นสีน้ำตาลอ่อน ก้านผลยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร และมีกลีบเลี้ยงติดอยู่คงทน ผลจะออกเรียงเป็นแนว ดูเป็นระเบียบอยู่ใต้ใบ โดยจะติดผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน

ต้น ธรณีสาร

สรรพคุณของว่านธรณีสาร

 

  1. รากมีรสจืดเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน (ราก) หรือจะใบนำมาตำให้แหลกผสมกับน้ำซาวข้าวหรือเหล้า ใช้พอกดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (ใบ) ส่วนมาเลเซียจะใช้ใบเป็นยาแก้ไข้สูง (ใบ)
  2. ใบแห้งนำมาบดให้เป็นผง ใช้แทรกพิมเสนกวาดคอเด็ก เพื่อลดไข้ รักษาอาการตัวร้อน รักษาพิษตานทรางของเด็ก รักษาแผลในปาก และยังเป็นยาขับลมในลำไส้อีกด้วย (ใบ) หรือจะใช้ใบนำมาขยำเอาน้ำใช้ชโลมทาเป็นยาลดไข้สำหรับเด็ก (ใบ)
  3. ช่วยแก้พิษตานซางเด็ก (ราก)
  4. ต้นใช้ภายนอกเป็นยาล้างตา (ต้น)
  5. ใบว่านธรณีสารนำมาตำ ใช้พอกเหงือกแก้อาการปวดฟัน และแก้โรคเหงือก (ใบ)
  6. รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ (ราก)
  7. ต้นนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง (ต้น)
  8. ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะอาหาร (ใบ)
  9. ต้นใช้ฝนทาท้องเด็ก ช่วยแก้ขัดเขา (ต้น)
  10. ช่วยแก้นิ่วในไต (ใบ)
  11. ต้นใช้เป็นยาทาท้องเด็ก ช่วยทำให้ไตทำงานตามปกติ และเป็นยาแก้ไข้ (ต้น)
  12. ที่ประเทศมาเลเซียจะใช้ใบเป็นยาแก้แผล แก้ปวดแผลจากอาการไหม้ แก้บวมคัน (ใบ)
  13. ต้นใช้เป็นยาทาผิวหนัง แก้ผิวหนังอักเสบ และแก้อาการคัน (ต้น)
  14. ใบใช้ตำพอกแก้ผื่นคันตามร่างกาย (ใบ)
  15. ใบใช้ภายนอกเป็นยาพอกฝี ดูดหนองรักษาแผลได้ดี (ใบ ส่วนต้นใช้ฝนทาแก้ฝีอักเสบ พิษฝีอักเสบ (ต้น)
  16. ใบใช้ตำพอกแก้อาการบวม แก้ปวดบวม (ใบ)
  17. ใบใช้ตำผสมกับข้าวเหนียวดำ ใช้เป็นยาพอกแก้กระดูกหัก (ใบ)

 

ประโยชน์ของว่านธรณีสาร

 

ว่านธรณีสารจัดเป็นไม้มงคลโบราณที่นิยมนำมาใช้ประกอบทำน้ำมนต์ โดยใช้ใบว่านธรณีสารชุบกับน้ำมนต์ ใช้ประพรมเพื่อเป็นการปัดรังควานและเสนียดจัญไร จึงนิยมปลูกกันไว้ตามวัด ส่วนการปลูกตามบ้านมีบ้างประปราย คนไทยโบราณเชื่อว่าถ้าปลูกต้นธรณีสารไว้กับบ้านจะเป็นสิริมงคล ทำให้มีความสุขร่มเย็น หากว่านธรณีสารงอกงามดี

จะเป็นสัญญาณที่แสดงว่าเจ้าของจะได้เกียรติยศ ได้ตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีขึ้นกว่าเดิม หรือมีโชคลาภ และยังเชื่อด้วยว่าว่านธรณีสารสามารถแผ่อิทธิคุณ ช่วยคุ้มครองอาณาบริเวณให้รอดพ้นจากมนต์ดำต่าง ๆ ช่วยปัดเสนียดจัญไรไม่ให้เข้ามาทำอันตรายได้ สำหรับการปลูก ว่านชนิดนี้มักขึ้นในที่ร่ม

ให้ใช้กระถางใบใหญ่ ส่วนดินที่ใช้ปลูก ให้ใช้ดินร่วน หากใส่ปุ๋ยคอกด้วยก็จะช่วยให้เจริญเติบโตได้เร็วขึ้น และเมื่อเอาดินกลบหัวว่านอย่ากดดินให้แน่น และให้รดน้ำพอชุ่ม ๆ ซึ่งก่อนรดให้สวดด้วยคาถา “นโม พุทธยะ” จำนวน 3 จบก่อนทุกครั้ง เมื่อว่านตั้งตัวได้ควรให้ได้รับแสงแดดรำไร เพื่อหัวว่านจะได้มีขนาดใหญ่ และควรปลูกว่านธรณีสารในวันพฤหัสบดีข้างขึ้นจะดีที่สุด

 

บทความที่เกี่ยวข้อง